6 พฤศจิกายน 2564 เวลา 11.20 น. หลังการเปิดเว็บไซต์เข้าชื่อเสนอกฎหมายยกเลิกมาตรา 112 เป็นเวลา 24 ชั่วโมง มีประชาชนมาเข้าชื่อเป็นจำนวน 100,033 คน

เมื่อวานนี้ (5 พฤศจิกายน 2564) ตั้งแต่เวลา 11.20 น. เป็นต้นมา มีการเปิดเว็บไซต์ให้ประชาชนได้ร่วมเข้าชื่อออนไลน์ เพื่อเสนอร่าง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่…) พ.ศ. …. (นายพริษฐ์ ชิวารักษ์ นายอานนท์ นำภา กับคณะ เป็นผู้เสนอ) เข้าสู่กระบวนการพิจารณาตรากฎหมายของรัฐสภา ซึ่งการเสนอร่าง พ.ร.บ. โดยประชาชนต้องใช้รายชื่อ 10,000 คนขึ้นไป

โดยเนื้อหาของการแก้กฎหมายอาญาดังกล่าวมีเพียงข้อเดียวสั้นๆ “ให้ยกเลิกมาตรา 112 แห่งประมวลกฎหมายอาญา”

และได้ระบุเหตุผลไว้ว่า “เนื่องจากกฎหมายเกี่ยวกับความผิดฐานหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท และผู้สําเร็จราชการแทนพระองค์ กลายเป็นเครื่องมือทางการเมืองที่รัฐบาลใช้ดําเนินคดีกับผู้ที่เห็นต่าง เป็นอุปสรรคสําคัญต่อการใช้เสรีภาพการแสดงออก และเป็นอุปสรรคต่อโอกาสของประชาชนที่จะได้ถกเถียงแลกเปลี่ยนกันถึงประวัติศาสตร์ของประเทศไทย สถานการณ์ทางการเมืองในปัจจุบัน และออกแบบอนาคตร่วมกัน ประกอบกับความไม่เหมาะสมทั้งในแง่ของบทกําหนดโทษที่สูงเกินสัดส่วน ความไม่ชัดเจนของขอบเขตการกระทําที่เป็นความผิด สถานะที่เป็นความผิดต่อความมั่นคงทําให้การริเริ่มคดีเกิดขึ้นโดยใครก็ได้ และเพื่อให้สถาบันพระมหากษัตริย์ในฐานะสถาบันการเมืองที่ใช้ภาษีของประชาชนถูกตรวจสอบได้โดยประชาชน และโดยการวิพากษ์วิจารณ์โดยสุจริต หากกระทําสิ่งที่ละเมิดรัฐธรรมนูญหรือหลักการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข โดยบุคคลทั้งหมดยังได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายหมิ่นประมาทและดูหมิ่น เช่นเดียวกับบุคคลธรรมดาเพื่อรักษาไว้ซึ่งเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นตามความมุ่งหมายของรัฐธรรมนูญ ตามหลักสิทธิมนุษยชนสากล และตามกฎหมายระหว่างประเทศที่ประเทศไทยมีพันธะต้องปฏิบัติตาม” จึงจําเป็นต้องยกเลิกมาตราดังกล่าว

ปรากฎว่าจนถึงเวลา 11.20 น. ของวันนี้ (6 พฤศจิกายน 2564) มีประชาชนมาเข้าชื่อแล้วเป็นจำนวนกว่า คน หรือกว่า 10 เท่าของเกณฑ์จำนวนรายชื่อที่ต้องใช้เสนอกฎหมาย แสดงให้เห็นการตระหนักถึงปัญหาของมาตรา 112 ในหมู่ประชาชนคนไทย

มาตรา 112 เป็นกฎหมายที่โดยหลักการแล้วแสดงถึงความไม่เท่าเทียมกันของมนุษย์ตั้งแต่ต้น โดยการบุคคลที่เพียงมีแต่ตำแหน่งเป็นกษัตริย์ ราชินี รัชทายาท และผู้วำเร็จราชการแทน ซึ่งเป็นตำแหน่งที่มีรากฐานเริ่มต้นมาจากการสืบสายเลือด กลับได้รับการปกป้องจากการวิพากษ์วิจารณ์เป็นพิเศษ เหนือกว่าบุคคลอื่น เหนือกว่าตำแหน่งเจ้าหน้าที่รัฐอื่นๆ ที่มาจากการเลือกตั้งโดยประชาชน

การมีอยู่ของมาตรา 112 ยังทำให้การถกเถียงในประเด็นสถาบันกษัตริย์อย่างเป็นสาธารณะและเป็นทางการเพื่อนำไปสู่นโยบายปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ที่ปฏิบัติได้จริงไม่อาจเกิดขึ้นได้ แม้ในข้อเท็จจริงเรื่องราวเกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์จะเป็นที่ซุบซิบนินทาในสังคมไทยมานานแล้ว หรือในปัจจุบันจะมีผู้ออกมาวิพากษ์วิจารณ์ในเวทีชุมนุมหรือในโลกออนไลน์แล้วก็ตาม ตราบใดที่การพูดถึงเหล่านี้ไม่ถูกยอมรับในระดับของรัฐ (เพราะยังคงถูกมองเป็นการกระทำผิดกฎหมาย) ทั้งหมดนี้ก็จะยังเป็นเพียงแค่การซุบซิบนินทาและวิพากษ์วิจารณ์โดยไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงอะไรต่อโครงสร้างการเมือง การมีอยู่ของมาตรา 112 จึงเท่ากับเป็นการสนับสนุนให้สถาบันกษัตริย์อยู่ในสถานะที่เป็นปัญหาต่อไปเรื่อย สร้างความขัดแย้งทางการเมืองต่อไปเรื่อยๆ ไม่มีที่สิ้นสุด

นี่จึงเป็นเหตุผลที่เราต้องยกเลิกประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112

ผู้ใดที่สนใจเข้าชื่อเสนอยกเลิกกฎหมายมาตราดังกล่าว สามารถเข้าร่วมได้ ผ่านทางเว็บไซต์ด้านล่างนี้

https://www.no112.org/

อ่านร่าง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่…) พ.ศ. …. (นายพริษฐ์ ชิวารักษ์ นายอานนท์ นำภา กับคณะ เป็นผู้เสนอ)

https://www.no112.org/abolish-112-draft.pdf

อ่านข้อตกลงและเงื่อนไขการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ในการเข้าชื่อออนไลน์

https://www.no112.org/privacy-policy.pdf