จากเมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2566 ที่ผ่านมา ในการประชุมร่วมของรัฐสภา (ส.ส. และ ส.ว.) เพื่อลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีคนที่ 30 ของประเทศไทย ผลการลงมติปรากฏว่าแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีซึ่งได้รับการเสนอชื่อจาก 8 พรรคการเมืองที่รวมเสียงในสภาผู้แทนราษฎรได้ถึง 312 เสียง (จากทั้งหมด 500 เสียง ถือเป็นเสียงข้างมากที่ในระบอบประชาธิปไตยปกติสามารถจัดตั้งรัฐบาลได้อย่างแน่นอน) กลับได้รับเสียงเห็นชอบจากทั้ง 2 สภารวมกัน 324 เสียง จากจำนวนทั้งหมดขณะนั้น 749 เสียง ไม่เกินครึ่งหนึ่งของรัฐสภา ส่งผลให้แคนดิเดตคนดังกล่าวยังไม่ได้รับเลือกให้เป็นนายกรัฐมนตรี

โดยเมื่อดูคะแนนเสียงจากฝั่ง ส.ว. ที่มาจากการเลือกของคณะรัฐประหาร คสช. พบว่าจำนวน ส.ว. ที่ลงเห็นชอบจริงๆ มีเพียง 13 เสียง แต่ในขณะเดียวกันจำนวน ส.ว. ที่แสดงออกชัดเจนว่าไม่เห็นชอบก็มีเพียง 34 เสียงเท่านั้น คะแนนเสียงส่วนใหญ่ของ ส.ว. นั้นเลือกที่จะลงมติ “งดออกเสียง” เป็นจำนวนถึง 159 เสียง ส่วน ส.ว. อีก 43 คนไม่พบว่ามาลงมติทั้งที่เป็นวาระที่สำคัญมาก ซึ่งเป็นไปได้ว่า ส.ว. บางคนจงใจไม่เข้าประชุมเพื่อหลีกเลี่ยงการลงมติเห็นชอบให้กับแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีที่ถูกเสนอชื่อ

การงดออกเสียงนั้น ดูเหมือนว่าจะเป็นการแสดงความเป็นกลาง ส.ว. บางคนอ้างว่านี่คือการ “ปิดสวิตช์” ของตัวเองในการเลือกนายกรัฐมนตรี ไม่ใช้อำนาจนี้เลือกนายกรัฐมนตรีจากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอีก (ตัวอย่าง ส.ว. ที่กล่าวอ้างเช่นนี้ เช่น วัลลภ ตังคณานุรักษ์, พรทิพย์ โรจนสุนันท์, เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์) แต่ในความเป็นจริงเมื่อการลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีจำเป็นต้องได้คะแนนเสียงเห็นชอบขั้นต่ำมากกว่าครึ่งหนึ่งของสภา การงดออกเสียง (หรือไม่มาลงมติ) จึงมีผลไม่ต่างกับการลงมติไม่เห็นชอบโดยปริยาย และเมื่อข้อเท็จจริงคือแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีคนนั้นมาจากการเสนอของพรรคการเมืองเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎร การที่ ส.ว. ลงมติไม่เห็นชอบ, งดออกเสียง หรือไม่มาลงมติ จึงเป็นการกระทำที่เป็นปฏิปักษ์ต่อเสียงของประชาชนที่แสดงออกผ่านการเลือกตั้ง

ในวันที่ 19 กรกฎาคม 2566 ที่จะถึงนี้ จะมีการประชุมรัฐสภาเพื่อลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง หาก ส.ว. คนไหนยังยืนยันว่าต้องการปิดสวิตช์อำนาจเลือกนายกรัฐมนตรีของตัวเองจริงๆ สิ่งที่ ส.ว. คนนั้นต้องทำไม่ใช่การลงมติงดออกเสียงอีกครั้งหรือไม่เข้าประชุม แต่คือการลาออกใน 1 วันก่อนการลงมติเท่านั้น (และหากมีการเลื่อนลำดับรายชื่อสำรองขึ้นมา ส.ว. ที่เข้ามาแทนหากไม่ต้องการขึ้นชื่อว่าเป็นปฏิปักษ์ต่อเสียงของประชาชน ก็ต้องลาออกด้วยเช่นกัน) ซึ่งจะส่งผลให้เกณฑ์จำนวนเสียงเห็นชอบเกินครึ่งหนึ่งของสภาลดลง ดังเช่นกรณีที่ ส.ว. เรณู ตังคจิวางกูร ลาออก 1 คนก่อนการลงมติวันที่ 13 กรกฎาคม ส่งผลให้จำนวนสมาชิกสภาทั้งหมดลดลงจาก 750 คน เป็น 749 คน และเกณฑ์จำนวนเสียงเห็นชอบเกินครึ่งหนึ่งของสภาลดลงจาก 376 คนขึ้นไป เป็น 375 คนขึ้นไป เป็นการเพิ่มโอกาสที่แคนดิเดตนายกรัฐมนตรีที่มาจากการเสนอชื่อของพรรคการเมืองเสียงข้างมากจะสามารถผ่านความเห็นชอบให้เป็นนายกรัฐมนตรีได้

มารอดูกันว่าจะมี ส.ว. ที่เต็มใจสละอำนาจอย่างเด็ดขาดเพื่อเคารพเสียงประชาชนอย่างแท้จริงสักกี่คน หรือว่าท้ายที่สุดแล้วข้ออ้างปิดสวิตช์ตัวเองจะเป็นเพียงความเสแสร้งเอาสร้างภาพความเป็นกลางบังหน้าแล้วพยายามฝืนมติประชาชนอยู่ข้างหลังเท่านั้น

รายชื่อ ส.ว. ที่ลงมติงดออกเสียง

กรรณภว์ ธนภรรคภวิน
พลตรี กลชัย สุวรรณบูรณ์
กล้านรงค์ จันทิก
กษิดิศ อาชวคุณ
กาญจนารัตน์ ลีวิโรจน์
กูรดิสถ์ จันทร์ศรีชวาลา
เกียว แก้วสุทอ
ขวัญชาติ วงศ์ศุภรานันต์
คำนูณ สิทธิสมาน
จรินทร์ จักกะพาก
พลโท จเรศักณิ์ อานุภาพ
จัตุรงค์ เสริมสุข
จินตนา ชัยยวรรณาการ
จิรชัย มูลทองโร่ย
จิรดา สงฆ์ประชา
พลเอก จิรพงศ์ วรรณรัตน์
พลเอก จีระศักดิ์ ชมประสพ
ฉวีรัตน์ เกษตรสุนทร
พลเอก ฉัตรเฉลิม เฉลิมสุข
พลเอก ฉัตรชัย สาริกัลยะ
พลอากาศตรี เฉลิมชัย เครืองาม
เฉลิมชัย เฟื่องคอน
เฉลียว เกาะแก้ว
พลเอก ชยุติ สุวรรณมาศ
ชลิต แก้วจินดา
พลเรือเอก ชัยวัฒน์ เอี่ยมสมุทร
ชาญวิทย์ ผลชีวิน
พลเอก ชาตอุดม ติตถะสิริ
พลเอก ชูศักดิ์ เมฆสุวรรณ์
ว่าที่ร้อยตรี เชิดศักดิ์ จำปาเทศ
เชิดศักดิ์ สันติวรวุฒิ
พลเรือเอก ณรงค์ พิพัฒนาศัย
ณรงค์ รัตนานุกูล
ณรงค์ สหเมธาพัฒน์
ณรงค์ อ่อนสอาด
ดวงพร รอดพยาธิ์
ดุสิต เขมะศักดิ์ชัย
พลอากาศเอก ตรีทศ สนแจ้ง
ตวง อันทะไชย
พลเอก ไตรโรจน์ ครุธเวโช
ถนัด มานะพันธุ์นิยม
พลอากาศเอก ถาวร มณีพฤกษ์
ทรงเดช เสมอคำ
พลเอก ทวีป เนตรนิยม
ทวีวงษ์ จุลกมนตรี
ทัศนา ยุวานนท์
ร้อยเอก ทินพันธุ์ นาคะตะ
พลเอก เทพพงศ์ ทิพยจันทร์
พลเอก ธงชัย สาระสุข
พลเอก ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร
ธานี สุโชดายน
ธานี อ่อนละเอียด
พลเอก ธีรเดช มีเพียร
พลเอก นาวิน ดำริกาญจน์
นิพนธ์ นาคสมภพ
พลเอก นิวัตร มีนะโยธิน
นิสดารก์ เวชยานนท์
นิอาแซ ซีอุเซ็ง
เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์
พลเอก บุญธรรม โอริส
บุญส่ง ไข่เกษ
พลเอก บุญสร้าง เนียมประดิษฐ์
ปนัดดา ดิศกุล
พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง
ประดิษฐ์ เหลืองอร่าม
ประมนต์ สุธีวงศ์
พลเอก ประสาท สุขเกษตร
ประสิทธิ์ ปทุมารักษ์
ประเสริฐ ปิ่นปฐมรัฐ
พลเอก ปรีชา จันทร์โอชา
ปรีชา บัววิรัตน์เลิศ
ปัญญา งานเลิศ
ปานเทพ กล้าณรงค์ราญ
ปิยฉัฏฐ์ วันเฉลิม
ปิยพันธุ์ นิมมานเหมินท์
พลเอก โปฎก บุนนาค
ผาณิต นิติทัณฑ์ประภาศ
พรทิพย์ โรจนสุนันท์
พรเพชร วิชิตชลชัย
พลเดช ปิ่นประทีป
พหล สง่าเนตร
พลเรือเอก พัลลภ ตมิศานนท์
พิกุลแก้ว ไกรฤกษ์
พลเอก พิศณุ พุทธวงศ์
พลตำรวจโท พิสัณห์ จุลดิลก
พลเอก พิสิทธิ์ สิทธิสาร
เพ็ญพักตร์ ศรีทอง
พลเอก ไพชยนต์ ค้าทันเจริญ
ไพฑูรย์ หลิมวัฒนา
มหรรณพ เดชวิทักษ์
พันตำรวจตรี ยงยุทธ สาระสมบัติ
พลเอก ยอดยุทธ บุญญาธิการ
พันตำรวจเอก ยุทธกร วงเวียน
ยุทธนา ทัพเจริญ
รณวริทธิ์ ปริยฉัตรตระกูล
ลักษณ์ วจนานวัช
พลเอก วรพงษ์ สง่าเนตร
วรารัตน์ อติแพทย์
พลเอก วลิต โรจนภักดี
พลเอก วสันต์ สุริยมงคล
พลเอก วัฒนา สรรพานิช
วัลลภ ตังคณานุรักษ์
พลเอก วิชิต ยาทิพย์
วิทยา ผิวผ่อง
พลเอก วินัย สร้างสุขดี
พลตำรวจโท วิบูลย์ บางท่าไม้
วิบูลย์ลักษณ์ ร่วมรักษ์
วิไลลักษณ์ อรินทมะพงษ์
วีระศักดิ์ ฟูตระกูล
วีระศักดิ์ โควสุรัตน์
วีระศักดิ์ ภูครองหิน
พลเอก วีรัณ ฉันทศาสตร์โกศล
ศักดิ์ชัย ธนบุญชัย
พลตำรวจโท ศานิตย์ มหถาวร
ศิรินา ปวโรฬารวิทยา
ศุภชัย สมเจริญ
พลเอก ศุภรัตน์ พัฒนาวิสุทธิ์
พลเอก สกนธ์ สัจจานิตย์
พลเอก สนธยา ศรีเจริญ
สมชาย ชาญณรงค์กุล
สมชาย เสียงหลาย
สมเดช นิลพันธุ์
พลตำรวจโท สมบัติ มิลินทจินดา
สมบูรณ์ งามลักษณ์
สมพล เกียรติไพบูลย์
สมศักดิ์ โชติรัตนะศิริ
พลเอก สมศักดิ์ นิลบรรเจิดกุล
พลตำรวจโท สมหมาย กองวิสัยสุข
พลเอก สมหมาย เกาฏีระ
พลเอก สราวุฒิ ชลออยู่
สวัสดิ์ สมัครพงศ์
พลเอก สสิน ทองภักดี
สังศิต พิริยะรังสรรค์
สาธิต เหล่าสุวรรณ
พลเอก สิงห์ศึก สิงห์ไพร
สุชัย บุตรสาระ
สุธี มากบุญ
สุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย
พลเอก สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์
พลเอก สุรพงษ์ สุวรรณอัตถ์
พลเอก สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์
สุวพันธุ์ ตันยุวรรธนะ
สุวรรณ เลิศปัญญาโรจน์
สุวรรณี สิริเวชชะพันธ์
สุวัฒน์ จิราพันธุ์
พลเอก อกนิษฐ์ หมื่นสวัสดิ์
พลอากาศเอก อดิศักดิ์ กลั่นเสนาะ
พลตำรวจเอก อดุลย์ แสงสิงแก้ว
พลเอก อนันตพร กาญจนรัตน์
อนุพร อรุณรัตน์
อนุศาสน์ สุวรรณมงคล
อภิรดี ตันตราภรณ์
พลเอก อักษรา เกิดผล
อับดุลฮาลิม มินซาร์
พลเอก อาชาไนย ศรีสุข
พลโท อำพน ชูประทุม
พลเรือเอก อิทธิคมน์ ภมรสูต
พลเอก อู้ด เบื้องบน
พลตรี โอสถ ภาวิไล

รายชื่อ ส.ว. ที่ลงมติไม่เห็นชอบ

กำพล เลิศเกียรติดำรงค์
กิตติศักดิ์ รัตนวราหะ
จเด็จ อินสว่าง
เจตน์ ศิรธรานนท์
พลตำรวจเอก เดชณรงค์ สุทธิชาญบัญชา
พลตำรวจโท ตรีทศ รณฤทธิวิชัย
ถวิล เปลี่ยนศรี
ถาวร เทพวิมลเพชรกุล
พลเอก ธวัชชัย สมุทรสาคร
บรรชา พงศ์อายุกูล
ประพันธ์ คูณมี
ร้อยเอก ประยุทธ เสาวคนธ์
พลเรือเอก พะจุณณ์ ตามประทีป
ไพโรจน์ พ่วงทอง
พลเอก มารุต ปัชโชตะสิงห์
พลเอก เลิศรัตน์ รัตนวานิช
ว่าที่ร้อยตรี วงศ์สยาม เพ็งพานิชภักดี
วิรัตน์ เกสสมบูรณ์
วิวรรธน์ แสงสุริยะฉัตร
พลเรือเอก ศิษฐวัชร วงษ์สุวรรณ
หม่อมหลวงสกุล มาลากุล
พลเรือโท สนธยา น้อยฉายา
พลเอก สนั่น มะเริงสิทธิ์
พลเอก สมเจตน์ บุญถนอม
สมชาย แสวงการ
สัญชัย จุลมนต์
พลเอก สำเริง ศิวาดำรงค์
สุรสิทธิ์ ตรีทอง
เสรี สุวรรณภานนท์
อนุศักดิ์ คงมาลัย
อนุสิษฐ คุณากร
อมร นิลเปรม
ออน กาจกระโทก
พลเอก อุดมชัย ธรรมสาโรรัชต์

รายชื่อ ส.ว. ที่ไม่มาลงมติ

กอบกุล อาภากร ณ อยุธยา
กิตติ วะสีนนท์
เจน นำชัยศิริ
เฉลิมชัย บุญยะลีพรรณ
พลเอก เฉลิมพล ศรีสวัสดิ์
พลตำรวจเอก ชัชวาลย์ สุขสมจิตร์
พลเอก เชวงศักดิ์ ทองสลวย
พลเรือเอก เชิงชาย ชมเชิงแพทย์
พลเรือเอก ฐนิธ กิตติอำพน
พลเอก ณรงค์พันธ์ จิตต์แก้วแท้
พลเอก ดนัย มีชูเวท
ดาวน้อย สุทธินิภาพันธ์
พลตำรวจเอก ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์
ดิเรกฤทธิ์ เจนครองธรรม
พลเรือเอก นพดล โชคระดา
พลเอก นพดล อินทปัญญา
บุญมี สุระโคตร
เบญจรัตน์ จริยธาราสิทธิ์
ประมาณ สว่างญาติ
ประยูร เหล่าสายเชื้อ
พลตำรวจตรี ปรัชญ์ชัย ใจชาญสุขกิจ
พลเอก ปัฐมพงศ์ ประถมภัฏ
พิทักษ์ ไชยเจริญ
พลเอก ไพโรจน์ พานิชสมัย
ภัทรา วรามิตร
ภาณุ อุทัยรัตน์
พลเอก เลิศฤทธิ์ เวชสวรรค์
พลเอก วราห์ บุญญะสิทธิ์
วิชัย ทิตตภักดี
ศรีศักดิ์ วัฒนพรมงคล
ศักดิ์ไทย สุรกิจบวร
พลเรือเอก ศักดิ์สิทธิ์ เชิดบุญเมือง
สถิตย์ ลิ่มพงศ์พันธุ์
พลเอก สนิธชนก สังขจันทร์
สม จาตุศรีพิทักษ์
สมชาย หาญหิรัญ
สำราญ ครรชิต
พลอากาศเอก สุจินต์ แช่มช้อย
สุนี จึงวิโรจน์
อภิชาติ โตดิลกเวชช์
พลอากาศเอก อลงกรณ์ วัณณรถ
อุดม วรัญญูรัฐ
อุปกิต ปาจรียางกูร

https://www.facebook.com/thematterco/posts/832996788385023
https://www.thaipbs.or.th/VotePM2023
https://www.thaipost.net/politics-news/413578/
https://www.matichon.co.th/politics/news_4073421
https://news.ch7.com/detail/657497
https://www.facebook.com/HKS2017/posts/1508410483053471
https://www.thairath.co.th/news/politic/2709165